วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดาวเคราะห์

ประวัติดาวเคราะห์
ประวัติระบบสุริยะจักรวาล
        ระบบสุริยะ ประกอบ ด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และดาวบริวาร โลกเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 โดยทั่วไป ถ้าให้ถูกต้องที่สุดควรเรียกว่า ระบบดาวเคราะห์ เมื่อกล่าวถึงระบบที่มีวัตถุต่างๆ โคจรรอบดาวฤกษ์
        ระบบสุริยะ คือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็น บริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นัก ดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึงที่โลกของ เราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 9 ดวง ที่เราเรียกกันว่า ดาวนพเคราะห์ ( นพ แปลว่า เก้า) เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ( ตอนนี้ไม่มีพลูโตแร้ว เหลือแค่ 8 ดวง )
        และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง (Moon of sattelites) ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอด จนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์ ขนาดของระบบสุริยะ กว้างใหญ่ไพศาลมาก เมื่อเทียบระยะทาง ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ซึ่งมีระยะทางประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1au.(astronomy unit) หน่วย ดาราศาสตร์ กล่าวคือ ระบบสุริยะมีระยะทางไกลไปจนถึงวงโคจร ของดาวพลูโต ดาว เคราะห์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ในระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ไกล เป็นระยะทาง 40 เท่าของ 1 หน่วยดาราศาสตร์ และยังไกลห่างออก ไปอีกจนถึงดงดาวหางอ๊อต (Oort's Cloud) ซึ่งอาจอยู่ไกลถึง 500,000 เท่า ของระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ด้วย ดวงอาทิตย์มีมวล มากกว่าร้อยละ 99 ของ มวลทั้งหมดในระบบสุริยะ ที่เหลือ
        นอก นั้นจะเป็นมวลของ เทหวัตถุต่างๆ ซึ่ง ประกอบด้วยดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง และอุกกาบาต รวมไปถึงฝุ่นและก๊าซ ที่ล่องลอยระหว่าง ดาวเคราะห์ แต่ละดวง โดยมีแรงดึงดูด (Gravity) เป็นแรงควบคุม ระบบสุริยะ ให้เทหวัตถุบนฟ้าทั้งหมด เคลื่อนที่เป็นไปตามกฏแรง แรงโน้มถ่วงของนิวตัน ดวงอาทิตย์แพร่พลังงาน ออกมา ด้วยอัตราประมาณ 90,000,000,000,000,000,000,000,000 แคลอรี ต่อวินาที เป็นพลังงานที่เกิดจากปฏิกริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ โดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นฮีเลียม ซึ่งเป็นแหล่งความร้อนให้กับดาว ดาวเคราะห์ต่างๆ ถึงแม้ว่าดวงอาทิตย์ จะเสียไฮโดรเจนไปถึง 4,000,000 ตัน ต่อวินาทีก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังมีความเชื่อว่าดวงอาทิตย์ จะยังคงแพร่พลังงานออกมา ในอัตรา ที่เท่ากันนี้ได้อีกนานหลายพันล้านปี
 ชื่อของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ยกเว้นโลก ถูกตั้งชื่อตามเทพของชาวกรีก เพราะเชื่อว่าเทพเหล่านั้นอยู่บนสรวงสวรค์ และเคารพบูชาแต่โบราณกาล ในสมัยโบราณจะรู้จักดาวเคราะห์เพียง 5 ดวงเท่า นั้น(ไม่นับโลกของเรา) เพราะสามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่าคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ประกอบกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ รวมเป็น 7 ทำให้เกิดวันทั้ง 7 ในสัปดาห์นั่นเอง และดาวทั้ง 7 นี้จึงมีอิทธิกับดวงชะตาชีวิตของคนเราตามความเชื่อถือทางโหราศาสตร์ ส่วนดาวเคราะห์อีก 3 ดวงคือ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ถูกคนพบภายหลัง แต่นักดาราศาสตร์ก็ตั้งชื่อตามเทพของกรีก เพื่อให้สอดคล้องกันนั่นเอง
----------
ประวัติย่อของดาราศาสตร์
ประวัติย่อของดาราศาสตร์ โดย สุทัศน์ ยกส้าน ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า เมื่อ 2,700 ปีก่อนนี้ ชนชาว Assyrian ได้สังเกตเห็นว่า สุริยุปราคาจะเกิดในเวลากลางวันที่พระจันทร์อยู่ในข้างขึ้นเท่านั้น ส่วนจันทรุปราคาก็จะเกิดเฉพาะในวันที่พระจันทร์เต็มดวงเท่านั้น และเมื่อประมาณ 2,250 ปีก่อนนี้ นักวิทยาศาสตร์กรีกชื่อ Aristarchus แห่งเมือง Samos ได้พยายามวัดระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ แต่เขาก็ได้ข้อสรุปเพียงว่า ดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากโลกยิ่งกว่าดวงจันทร์มาก และดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าโลกมาก ข้อสรุปประเด็นหลังนี้ ได้ทำให้ Aristarchus เสนอความคิดว่า เพราะดาวที่มีขนาดเล็กน่าจะเป็นดาวบริวารของดาวขนาดใหญ่ ดังนั้น น่าจะต้องโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่ทฤษฎีของ Aristarchus ไม่ได้รับการเหลียวแล เพราะ Claudius Ptolemaeus แห่งเมือง Alexandria คิดว่า ความคิดที่ว่าโลกเคลื่อนที่นั้นเหลวไหล ในตำราชื่อ Almagest ที่ตีพิมพ์ในราว พ.ศ. 700 Ptolemaeus ได้ให้เหตุผลว่า ถ้าโลกเคลื่อนที่จริงหรือหมุนจริง สรรพสิ่งต่างๆ สัตว์ ผู้คนและสิ่งของต่างๆ ที่อยู่บนโลกจะต้องถูกเหวี่ยงกระเด็นหลุดจากโลกหมด ซึ่งถ้าคิดแบบผิวเผิน เราหลายคน ณ วันนี้คงเชื่อในวิธีคิดของ Ptolemaeus ว่า โลกน่าจะอยู่นิ่งๆ แต่ความผิดพลาดของความคิดนี้ คือ Ptolemaeus ไม่รู้แม้แต่น้อยว่า ปรากฏการณ์ในธรรมชาติทุกเรื่องเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของแรงหลายแรง ดังนั้น ถ้าเราไม่รู้ขนาดของแรงต่างๆ ว่ามากหรือน้อยกว่ากันเพียงใด เราก็จะสรุปผิด และสำหรับกรณีข้างต้นนั้น แรงโน้มถ่วงที่โลกดึงดูดสรรพสิ่ง มีอิทธิพลมากที่สุด ดังนั้น สรรพสิ่งต่างๆ จึงไม่สามารถกระเด็นหลุดจากโลกได้ ความคิดของ Ptolemaeus ได้รับการยอมรับ โดยผู้คนในโลกโบราณเป็นเวลานานร่วม 1,500 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2086 เมื่อ Nicolaus Copernicus ได้นำความคิดของ Aristarchus มาแถลงอีก แต่เขาไม่มีหลักฐานใดๆ ที่สนับสนุนทฤษฎีของเขา เขาจึงต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตดาวต่างๆ ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของ Tycho Brahe ผู้เป็นนักดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ แต่ Tycho เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างหวงความรู้ เพราะเขาต้องการจะสร้างทฤษฎีอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์เป็นคนแรก ดังนั้น เขาจึงไม่แพร่งพรายข้อมูลที่เขาวัดได้ให้โลกภายนอกรู้เลย และเมื่อ Tycho เสียชีวิตลง ข้อมูลต่างๆ จึงได้ตกเป็นของ Johannes Kepler นักดาราศาสตร์ผู้ช่วยของ Tycho ซึ่งก็ได้วิเคราะห์จนพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ ดังนี้ 1. วงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี มิใช่วงกลม 2. ในเวลาที่เท่ากัน เส้นรัศมีที่ลากจากดวงอาทิตย์ถึงดาวเคราะห์ จะกวาดพื้นที่ได้เท่ากัน และ 3. เวลาที่ดาวเคราะห์ทุกดวงใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ แปรผันโดยตรงกับระยะทางเฉลี่ยที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ยกกำลัง 1.5 ข้อสังเกตหนึ่งที่ได้จากกฎทั้งสามข้อนี้ก็คือ กฎข้อสามของ Kepler นับเป็นกฎๆ แรกในวิชาดาราศาสตร์ที่มีลักษณะของสูตรทางคณิตศาสตร์ คำถามที่ติดตามมาคือ เหตุใดกฎการเคลื่อนที่สำหรับดาวเคราะห์ทุกดวงในสุริยจักรวาล จึงเป็นไปตามที่ Kepler พบ การสังเกตเห็นภูเขาบนดวงจันทร์ เห็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี และเห็นปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรมของดาวศุกร์ โดย Galileo Galilei ในปี 2152 ได้ตอกย้ำให้ Galileo เชื่ออย่างแม่นมั่นว่า โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์บริวารดวงหนึ่งของดวงอาทิตย์เท่านั้น และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ตามกฎของ Kepler ทุกประการ สำหรับสาเหตุที่ทำให้นักดาราศาสตร์รู้ธรรมชาติที่แท้จริงของสุริยจักรวาลล่าช้ามากร่วม 1,500 ปี คือการไม่มีกล้องโทรทรรศน์ใช้ เพราะโลกเพิ่งรู้จักกล้องโทรทรรศน์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2151 จากฝีมือประดิษฐ์ของช่างทำแก้วชาวเนเธอร์แลนด์ และ Galileo ได้พัฒนาประสิทธิภาพของกล้องจนสามารถปฏิรูปวิทยาการด้านดาราศาสตร์ในเวลาต่อมาได้ และความจริงที่ประจักษ์ชัดอีกประเด็นหนึ่งก็คือ ปริมาณความรู้ที่เราจะได้จากการศึกษาธรรมชาติขึ้นกับความสามารถของอุปกรณ์ที่เราใช้ในการศึกษาธรรมชาตินั้น ดังจะเห็นได้จากการ Tycho เฝ้าดูดาวพฤหัสบดีด้วยตา แต่เขาไม่มีกล้องโทรทรรศน์ที่จะช่วยให้เขาเห็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี ส่วนตาของ Tycho ก็เห็นเพียงแสงสว่างธรรมดาจากดาว เขาหารู้ไม่ว่าดาวต่างๆ เหล่านั้น สามารถปล่อยแสงอินฟราเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ คลื่นวิทยุ รังสีแกมมา ฯลฯ มายังโลกได้ด้วย การมีอุปกรณ์สำหรับรับแสงต่างๆ หลากหลายชนิดเหล่านี้ ทำให้นักดาราศาสตร์ทุกวันนี้รู้ว่า ในจักรวาลที่กว้างใหญ่จนหาขอบเขตไม่ได้ มีดาวนานาชนิด เช่น ดาว quasar ดาวเอกซเรย์ ดาวอินฟราเรด กาแล็กซี supernova, pulsar, black hole และดาว magnestar เป็นต้น ในการศึกษาวิทยาศาสตร์นั้น การเห็น การพบเหตุการณ์ต่างๆ ยังถือว่าดีไม่พอ ถ้านักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายที่มาและที่ไปของปรากฏการณ์ที่เห็นได้ ดังนั้น การรู้และศึกษาทฤษฎีของดาราศาสตร์ จึงเป็นเรื่องจำเป็น Isaac Newton เป็นนักฟิสิกส์ผู้ยิ่งใหญ่คนแรกที่ได้ใช้ข้อสังเกตของ Galileo เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุที่กำลังตกในแนวดิ่ง และการโคจรของดวงจันทร์ต่างๆ รอบดาวพฤหัสบดี รวมทั้งกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ของ Kepler มาประมวลกันแล้วอธิบายว่า เหตุการณ์ต่างๆ ที่ดูเผินๆ แล้วมีหลากหลายรูปแบบนี้ สามารถอธิบายสาเหตุความเป็นมาได้ด้วยกฎการเคลื่อนที่ของเขา และกฎแรงโน้มถ่วงเท่านั้น และในการอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ Newton ได้ใช้คณิตศาสตร์ แคลคูลัสที่เขาคิดขึ้นมาใหม่ ความจริง Newton มิได้เป็นนักวิทยาศาสตร์คนเดียวที่พบกฎแรงดึงดูดระหว่างมวล Robert Hooke เป็นนักฟิสิกส์อีกคนหนึ่งที่พบกฎนี้ว่า แรงดึงดูดระหว่างมวล แปรผกพันกับระยะทางที่มวลทั้งสองอยู่ห่างกันยกกำลังสอง แต่ Hooke ไม่มีความสามารถทางคณิตศาสตร์เทียบเท่า Newton ดังนั้น ทฤษฎีของเขาจึงอธิบายกฎของ Kepler ไม่ได้ ในขณะที่ทฤษฎีและคณิตศาสตร์ของ Newton สามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ของดวงจันทร์ ของดาวหางของกระสุนปืนใหญ่ ของลูกแอปเปิล ฯลฯ ได้หมด ข้อสังเกตหนึ่งที่ได้จากเหตุการณ์นี้ก็คือ ในวงการวิทยาศาสตร์นั้น ใครๆ ก็มีความคิดได้ เพราะทั้ง Hooke และ Newton ต่างก็คิดถึงเรื่องแรงโน้มถ่วง แต่โลกยอมรับในความยิ่งใหญ่ของ Newton เพราะ Newton มีเทคนิคและความสามารถในการใช้ทฤษฎีที่เขาคิดคำนวณ จนสามารถอธิบายเหตุการณ์ที่ Aristarchus, Copernicus, Tycho, Galileo, Kepler ฯลฯ เห็น สังเกต และวัดได้หมดเท่านั้นยังไม่พอ ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของ Newton ยังสามารถพยากรณ์ได้อีกว่า ดาวหาง Halley จะมาเยือนโลกอีกในปี 2302 ซึ่งในปีดังกล่าว ดาวหาง Halley ก็ได้มาปรากฏให้ชาวโลกยุคนั้นเห็นจริงๆ ดังนั้น กฎแรงโน้มถ่วงของ Newton จึงเป็นกฎสากลที่ใช้ได้กับสสารทุกชนิด ทุกสถานที่ และทุกเวลา เมื่อถึงสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักดาราศาสตร์ได้หันมาสนใจศึกษาหาเหตุผลว่า ดาวฤกษ์และดวงอาทิตย์เปล่งแสงและปล่อยพลังงานความร้อนได้อย่างไร และก็ได้มีนักฟิสิกส์หลายคนที่เสนอความคิด เช่น หลายคนคิดว่าปฏิกิริยาเคมีคือแหล่งกำเนิดของพลังงานแสงอาทิตย์ บ้างก็ว่า การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีบนดวงอาทิตย์ บ้างก็ว่า การหดตัวของดวงอาทิตย์ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง แต่การตรวจสอบโดยใช้หลักฐานที่สังเกตได้ และการคำนวณ ทำให้คนยุคนั้นรู้ว่าข้อเสนอต่างๆ เหล่านั้น ไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริง จนในปี พ.ศ. 2482 Han Bethe ซึ่งมีความรู้ฟิสิกส์ด้านนิวเคลียร์เยี่ยมยอด ได้เสนอความคิดว่า การรวมตัวระหว่างธาตุไฮโดรเจนเป็นธาตุฮีเลียม คือ สาเหตุที่ทำให้ดวงอาทิตย์สามารถปล่อยพลังงานมาได้นานนับ 5,000 ล้านปีแล้ว และจะปล่อยพลังงานต่อไปได้อีกนาน 5,000 ล้านปี ในอนาคต นอกจากนี้ Bethe ก็ยังได้เสนอทฤษฎีการปล่อยพลังงานแสงและความร้อนในดาวฤกษ์ที่มีขนาดใหญ่กว่า และอุณหภูมิสูงกว่าดวงอาทิตย์อีกด้วยว่า เกิดจากการมีธาตุ carbon-hitrogen และ oxygen บนดาวเหล่านั้น เป็นธาตุที่ช่วยเร่งในการเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวกับโครงสร้าง กำเนิด และวิวัฒนาการของจักรวาลนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้อาศัยทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของ Albert Einstein ในการอธิบายและทำนาย เพราะในปี พ.ศ. 2472 Edwin Hubble ได้พบว่า จักรวาลมิได้อยู่นิ่ง คือขนาดมิได้คงที่ แต่กำลังเพิ่มตลอดเวลา การพบเหตุการณ์เช่นนี้ได้ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องค้นหาสาเหตุที่ทำให้เหตุการณ์นี้เกิด และก็ได้พบว่า ในการอธิบายเหตุการณ์จักรวาลขยายตัว สมการที่ Einstein คิด สามารถอธิบายได้ดี ถ้าสมการนั้นมีคำคำหนึ่งซึ่ง Einstein เรียก cosmological constant (ค่าคงที่จักรวาล) ที่ Einstein ในตอนแรกคิดว่า มีค่าเป็นศูนย์ และการสังเกตในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จักรวาลกำลังขยายตัวด้วยความเร่ง นั่นคือ กาแล็กซีต่างๆ กำลังพุ่งแยกจากกันด้วยความเร็วที่สูงขึ้นๆ ตลอดเวลา ได้ทำให้นักดาราศาสตร์ ณ วันนี้ยอมรับแล้วว่า ค่าคงที่จักรวาลของ Einstein มิได้มีค่าเป็นศูนย์แน่ๆ ถึงแม้ Einstein จะเคยคิดว่า ค่าคงที่นี้เป็นศูนย์ ซึ่งเป็นการคิดที่ผิด และ Einstein รู้สึกละอายมาก แต่ความคิดหลักและทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปของ Einstein ในภาพรวมไม่ผิดเลย เพราะทฤษฎีนี้ได้ทำให้ Subrahmanyan Chandrasckhar สามารถอธิบายโครงสร้างของดาวฤกษ์ได้ และทำให้ Robert Herman George Gamow กับ Ralph Alpher อธิบายกำเนิดของจักรวาลในรูปของการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ (big bang) เป็นการนำความรู้ด้านนิวเคลียร์ฟิสิกส์กับทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปมารวมกัน เพื่ออธิบายว่า ธาตุ hydrogen, deuterium, helium, lithium และ berylluim ถือกำเนิดอย่างไร อีกทั้งช่วยทำนายด้วยว่า หลังจากการระเบิดแล้ว รังสีไมโครเวฟและอนุภาค neutrino ต่างๆ ณ วันนี้มีมาก และมีอุณหภูมิสูงเพียงใดด้วย สถานภาพของดาราศาสตร์ปัจจุบัน จึงเป็นว่า ณ วันนี้เราเชื่อว่า เราสามารถเข้าใจอดีต ธรรมชาติ และวิวัฒนาการของจักรวาลได้โดยใช้ทฤษฎีของฟิสิกส์ แต่เราก็ยังไม่มั่นใจว่า ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เรายังไม่เห็น หรือยังไม่พบนั้น จะสามารถอธิบายได้ด้วยวิชาฟิสิกส์ที่เรารู้ ณ วินาทีนี้ได้ และเมื่อนักดาราศาสตร์รู้ว่าสิ่งต่างๆ ที่เราเห็น (ดาวฤกษ์ กาแล็กซี ดาวหาง อุกกาบาต nebule เมฆอวกาศ ฯลฯ เป็นเพียง 4% ของสสารที่จักรวาลมีส่วนสสารอีก 96% ที่จักรวาลมี (ซึ่งเรียกรวมกันว่า กาฬสสาร dark matter และ กาฬพลังงาน dark energy) ที่ใครก็ยังไม่รู้ว่ามันเป็นอะไรแน่ หรืออยู่ที่ไหนบ้าง และมีขนาดใหญ่เล็กเพียงใดนั้น ก็พอจะทำให้เรารู้จักและเข้าใจธรรมชาติไม่ถึง 4% เท่านั้นเอง ในอนาคต นักดาราศาสตร์กำลังมุ่งหากาฬสสาร หาคลื่นโน้มถ่วง พัฒนาทฤษฎี brane ที่จะอธิบายแรงทุกรูปแบบในธรรมชาติครับ สุทัศน์ ยกส้าน ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน
-----------
ฉายาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
เรามีชื่อเทพของดาวแต่ละดวง
1. ดาวพุธ ( Mercury ) เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร มีฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง
2. ดาวศุกร์ ( Venus ) มีฉายาว่าเทพธิดาแห่งความรักและความงาม
3. ดาวอังคสร ( Mars ) เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งสงคราม มีฉายาว่า ดาวเคราะห์สีแดง
4. ดาวพฤหัสบดี ( Jupiter ) เป็นชื่อจอมเทพหัวหน้าเทพเจ้า
มีฉายาว่า โลกยักษ์
5. ดาวเสาร์ ( Saturn ) เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งการเกษจร
6. ดาวเนปจูน ( Neptune ) เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งทะเล เรียกดาวสมุทร
--------
าวเคราะห์ (Planets) ในระบบสุริยะทั้งหมด 9 ดวง เรียงตามลำดับ โดยมีดวงอาทิตย์ (Sun) เป็นศูนย์กลาง ดังนี้ ดาวพุธ (Mercury) ดาวศุกร์ (Venus) โลก (Earth) ดาวอังคาร (Mars) ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ดาวเสาร์ (Saturm) ดาวยูเรนัส (Uranus) ดาวเนปจูน (Neptune) และดาวพลูโต (Pluto) ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกของเราก็มีดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวพลูโต ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก มีดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มีดาวเคราะห์ 7 ดวง รวมทั้งโลกที่มีดวงจันทร์เป็นบริวารมีจำนวนแตกต่างกันออกไปยกเว้นดาวเคราะห์ วงใน 2 ดวงคือ ดาวพุธและดาวศุกร์ ที่ไม่มีดวงจันทร์บริวาร

สำหรับมนุษย์บนโลก เรารู้จักดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้ามาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ มีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับดวงดาวและวัตถุท้องฟ้ามานานกว่า 8,000 ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในสมัยบาบิโลเนีย อียิปต์โบราณ หรือกรีกโบราณก็ตาม ซึ่งในแต่ละยุคสมัยต่างก็มีข้อมูลหลักฐานยืนยันถึงความเจริญรุ่งเรืองและ ความสนใจเกี่ยวกับความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ แตกต่างกันออกไป ได้มีการตั้งชื่อของดาวเคราะห์และให้สัญลักษณ์ของดาวเคราะห์ทุกดวงเป็นฃื่อ ของเทพเจ้า เทพธิดา หรือสิ่งที่ตนเคารพนับถือและบูชา เช่น ใช้สัญลักษณ์ของเทพอาทิตย์แทนด้วยรูปคล้ายนกอินทรี ใช้สัญลักษณ์เทพเจ้าซินแทนด้วยรูปดวงจันทร์ ใช้สัญลักษณ์รูปดาว16 แฉกแทนความหมายดาวศุกร์ หมายถึง เทพธิดาอิชทาร์ (Ishtar) เป็นเทพแห่งความรัก ความสมบูรณ์ เหล่านี้เป็นต้น

การใช้สัญลักษณ์จึงปรากฎมีมาแต่โบราณกาล และให้ความหมายที่สอดคล้องกับดาวแต่ละดวง


ดวงอาทิตย์ (Sun)

สัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์เป็นรูปวงกลม มีจุดอยู่ที่จุดศูนย์กลาง หมายถึง จุดกำเนิดของชีวิต ดวงอาทิตย์ให้พลังงานความร้อน ให้ความอบอุ่น ให้แสงงสว่างแกมวลสรรพสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลก เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกที่สุด อยู่ห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 หน่วยดาราศาสตร์


ดวงจันทร์ (Moon)

สัญลักษณ์ของดวงจันทร์เป็นรูปจันทร์เสี้ยว ส่วนรูปหญิงสาวกำลังยิงธนูคือ เทพีแห่งการล่าสัตว์ ดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างมากเป็นอันดับหนึ่งในเวลากลางคืน บนดวงจันทร์ไม่มีน้ำและบรรยากาศห่อหุ้มเป็นบริวารดวงเดียวของโลกและอยู่ใกล้ โลกมากที่สุด


ดาวพุธ (Mercury)

สัญลักษณ์ของดาวพุธเป็นรูปงูพันไม้เท้า มีปีกดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่าโลก เคลื่อนที่เร็วที่สุด จึงเปรียบเสมือนเทพเจ้าผู้ส่งข่าว อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า บนดาวพุธไม่มีบรรยากาศ พื้นผิวเต็มไปด้วยหลุมบ่อ มีหน้าผาสูง หุบเหว และรอยแยก


ดาวศุกร์ (Venus)

สัญลักษณ์ของดาวศุกร์ เป็นรูปกระจกเงาที่มีมือถือ ใช้แทนสัญลักษณ์สากลของเพศหญิง ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีแสงสว่างสวยงามมาก ชาวโรมันจึงเรียกดาวดวงนี้ว่า วีนัส เป็น เทพธิดาแห่งความงาม สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีบรรยากาศหนาทึบเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอของกรดกำมะถน เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด จึงได้ชื่อว่าเป็น ดาวคู่แฝดกับโลก ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร


โลก (Earth)

สัญลักษณ์ของโลกเป็นรูปวงกลมรอบกากบาทซึ่งหมายถึงเส้นศูนย์สูตร และส้นลองจิจูดของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวง และพื้นผิวส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยน้ำ โลกจึงได้ชื่อว่าเป็น ดาวเคราะห์แห่งพื้นน้ำ


ดาวอังคาร (Mars)

สัญลักษณ์ของดาวอังคารเป็นรูปโล่และหอก ใช้แทนสัญลักษณ์สากลของเพศชาย เป็นดาวเคราะห์สีแดง ได้ชื่อว่าเป็น เทพเจ้าแห่งสงคราม เพราะปรากฏเป็นสีแดงในท้องฟ้า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 มีบรรยากาศเบาบาง ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พื้นผิวมีแต่รอยแยก หลุมบ่อ และภูเขาไฟอยู่ทั่วไปไม่มีสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 2 ดวง ชื่อ โฟบอส และ ไดมอส


ดาวพฤหัสบดี (Jupiter)

สัญลักษณ์ของดาวพฤหัสบดีเป็นรูปสายฟ้าแลบ เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 12 เทา อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 บรรยากาศส่วนใหญ่เป็นก๊าซไฮโดรเจน ไม่มีก๊าซออกซิเจน มีจุดแดงใหญ่และแถบสีคล้ำพาดผ่านขวางตัวดวงเป็นลักษณะเด่นมีดวงจันทร์เป็น บริวาร 16 ดวง ที่มีขนาดใหญ่ 4 ดวงเห็นชัดเจน ซึ่งกาลิเลโอเป็นผู้ส่องกล้องค้นพบเรียกว่า ดวงจันทร์กาลิเลียน

ได้แก่ ไอโอ ยุโรปา แกนิมีด และ คัลลิสโต สำหรับ ดวงจันทร์แนนิมีด (Ganymede) เป็นดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 5,260 กิโลเมตร


ดาวเสาร์ (Saturn)

สัญลักษณ์ดาวเสาร์เป็นรูปเคียว เพราะดาวเสาร์เป็น เทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีสีเหลืองอ่อน เมื่อดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวนล้อมรอบสวยงาม 7 ชั้น เป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์เป็นบริวารมากถึง 18 ดวง

ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ชื่อว่า ไททัน (Titan) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดวงจันทร์แกนิมีด (Gany-made)ของดาวพฤหัส
ดาวยูเรนัส (Uranus)

สัญลักษณ์ดาวยูเรนัสแทนสวรรค์ เพราะยูเรนัสเป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า ของกรีก เป็นดาวเคราะห์ที่ วิลเลียม เฮอร์เชล ค้นพบโดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์ส่องค้นพบปี พ.ศ. 2324 มีองค์ประกอบคล้ายดาวพฤหัสบดี คือ ประกอบด้วยก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียม ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเขียว มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 15 ดวง ชื่อไทยของดาวยูเรนัสคือ ดาวมฤตยู

ดาวเนปจูน (Neptune)

สัญลักษณ์ดาวเนปจูนเป็นรูปตรีศร หรือสามง่าม เนปจูนเป็น เทพเจ้าแห่งทะเล ของโรมัน มีสามง่ามเป็นอาวุธ เป็นดาวเคราะห์ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ส่องกล้องโทรทรรศน์ค้นพบโอย จอห์น คูช อะดัมส์ ชาวอังกฤษ และ เลอแวร์รีเย ชาวฝรั่งเศส บรรยากาศบนดาวเนปจูนเต็มไปด้วยก๊าซมีเทน มีจุดสีดำ มีวงแหวนล้อมรอบ 5 ชั้น และมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 8 ดวง ชื่อไทยของดาวเนปจูนคือ ดาวเกตุ
 ดาวพลูโต (Pluto)

สัญลักษณ์ดาวพลูโตเป็นรูปตัว P และ L รวมกัน เป็นอักษรย่อของ Percival Lowell นักดาราศาสตร์สหรัฐฯ ผู้มีส่วนช่วยให้ค้นพบดาวพลูโต ผู้ส่องกล้องค้นพบโดยไคลด์ ทอมบอห์ ค้นพบที่หอดูดาวโลเวลล์ เมื่อ พ.ศ. 2473 ดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะและอยู่ไกลมากเป็นอันดับ ที่ 9 จึงไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดาวพลูโตมีดวงจันทร์เป็นบริวาร 1 ดวงเหมือนกับโลก ชื่อ ชารอน (Charon) ชื่อไทยของดาวพลูโตคือ ดาวยม

ทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ

ทฤษฎีการกำเนิดระบบสุริยะ มีดังนี้
1.ทฤษฎีของคานท์และลาพลาส ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2339 กล่าวไว้ว่า ระบบสุริยาเกิดจากกลุ่มก๊าซและหมอกควันขนาดใหญ่ที่มีความร้อนจัดมารวมตัวกันแล้วหมุน แรงเหวี่ยงจากการหมุนทำให้มวลบางส่วนหลุดออกเกิดเป็นวงแหวนเรียงออกไปเป็นชั้นๆ ต่อมามวลบริเวณศูนย์กลางได้กลายเป็นดวงอาทิตย์ ส่วนมวลที่อยู่บริเวณวงแหวนต่างๆ ได้กลายเป็นดาวเคราะห์และสิ่งอื่นๆ ในระบบสุริยะ
 
รูปแสดงการเกิดระบบสุริยะตามทฤษฎีของคานท์และลาพลาส
-ข้อสังเกต ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์เกิดพร้อมกัน
-ข้อสนับสนุน ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์หมุนไปทางเดียวกัน
-ข้อคัดค้าน ดวงอาทิตย์น่าจะหมุนเร็วกว่านี้ กลุ่มก๊าซน่าจะกระจายออกไปมากกว่าจะมารวมกันเป็นดาวเคราะห์
2. ทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์ ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2444 กล่าวไว้ว่า มีดาวฤกษ์ขนาดใหญ่เคลื่อนที่เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ แรงดึงดูดระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวฤกษ์มีผลทำให้มวลสารบางส่วนของดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์หลุดออกมา แล้วกลายเป็นดาวเคราะห์และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะ
 
รูปแสดงการเกิดระบบสุริยะตามทฤษฎีของเจมส์ ยีนส์
-ข้อสังเกต ดวงอาทิตย์เกิดก่อนดาวเคราะห์ ทฤษฎีนี้ บูฟง ชาวฝรั่งเศส เคยตั้งมาก่อนเมื่อ พ.ศ. 2288
-ข้อสนับสนุน ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์หมุนไปทางเดียวกัน เป็นไปได้ที่ดวงอาทิตย์จะหมุนเข้า
-ข้อคัดค้าน ดาวฤกษ์เคลื่อนที่เร็วมากๆ ไม่น่าจะเข้ามาใกล้กันได้ กลุ่มก๊าซร้อนที่หลุดออกมาน่าจะกระจายไป ไม่น่าจะรวมกันได้ จากการคำนวณอย่างละเอียดได้แรงดึงดูดไม่น่าจะมาก จนสามารถดึงก๊าซหรือมวลสารหลุดออกมาได้
3. ทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน ตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2493 กล่าวไว้ว่า กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองรวมกันเป็นดวงอาทิตย์ก่อน ต่อมาดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นนี้เริ่มมีแสงสว่าง โดยยังคงมีกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองห้อมล้อมอยู่ และหมุนไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์ กลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองดังกล่าวจะอัดตัวกันแน่น และรวมตัวกันเป็นก้อนขนาดใหญ่ กลายเป็นดาวเคราะห์และวัตถุต่างๆ ในระบบสุริยะ
 
รูปแสดงการเกิดระบบสุริยะตามทฤษฎีของเฟรด ฮอยล์ และฮานส์ อัลเฟน
-ข้อสังเกต ดวงอาทิตย์เกิดก่อนดาวเคราะห์
-ข้อสนับสนุน สามารถอธิบายการหมุนรอบตัวเอง และการมีดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ได้
-ข้อคัดค้าน ยังมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการหมุนของกลุ่มก๊าซและฝุ่นละอองเพื่อเกิดเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ ด้วยความเร็วไม่เท่ากัน

กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ


ภาพวาดโดยศิลปิน แสดงจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดในจินตนาการ
             กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะดำเนินมาตั้งแต่ประมาณ   4,600 ล้านปีก่อน โดยเริ่มจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ มวลส่วนมากในการแตกสลายครั้งนั้นได้กระจุกรวมกันอยู่บริเวณศูนย์กลาง และกลายมาเป็นดวงอาทิตย์ มวลส่วนที่เหลือวนเวียนโดยรอบมีรูปร่างแบนลง กลายเป็นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ในระบบสุริยะ
            แบบจำลองดังกล่าวมานี้ถือเป็นแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เรียกชื่อว่า สมมุติฐานเนบิวลา มีการพัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดย เอมมานูเอล สวีเดนบอร์ก อิมมานูเอล คานท์ และ ปีแยร์-ซีมง ลาปลาซ การวิวัฒนาการในลำดับถัดมาเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายแขนง เช่นดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา และวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ นับแต่ยุคเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศในคริสต์ทศวรรษ 1950 และการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในคริสต์ทศวรรษ 1990 แบบจำลองนี้ได้ถูกท้าทายและผ่านการปรับแต่งมาอีกหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ๆ

เนบิวลาก่อนสุริยะ

               ตามสมมุติฐานว่าด้วยเนบิวลา ระบบสุริยะก่อตัวขึ้นจากการแตกสลายของแรงโน้มถ่วงภายในของพื้นที่ส่วนหนึ่ง ในเมฆโมเลกุลยักษ์ซึ่งมีขนาดกว้างหลายปีแสง[1] เมื่อไม่กี่สิบปีก่อนยังมีความเชื่อกันว่า ดวงอาทิตย์ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นเอกเทศ แต่การศึกษาอุกกาบาตเก่าแก่บ่งชี้ถึงร่องรอยไอโซโทปอายุสั้นเช่น iron-60 ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการระเบิดของดาวฤกษ์อายุน้อยเท่านั้น หลักฐานนี้จึงบ่งชี้ว่าเคยมีซูเปอร์โนวาเกิดขึ้นใกล้ดวงอาทิตย์ขณะที่มันกำลังก่อตัว คลื่นกระแทกจากซูเปอร์โนวาเหล่านี้อาจช่วยจุดชนวนการก่อตัวของดวงอาทิตย์ขึ้นโดยทำให้เกิดย่านความหนาแน่นสูงภายในเมฆโมเลกุล และทำให้ย่านนั้นแตกสลายลง และเนื่องจากซูเปอร์โนวาจะเกิดขึ้นได้จากดาวฤกษ์อายุน้อยที่มีมวลมาก ดังนั้นดวงอาทิตย์จะต้องก่อตัวจากย่านกำเนิดดาวขนาดใหญ่ซึ่งสามารถสร้างดาวฤกษ์มวลมากได้ บางทีย่านนั้นอาจจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเนบิวลานายพรานก็ได้

การเกิดกาแล็กซีทางช้างเผือก
              กาแล็กซีทางช้างดเผือกเกิดขึ้นเนื่องจากสูตรดังกล่าวและมีอายุได้ประมาณ 87,840 ล้านล้านล้านล้านล้านล้านปี มีลักษณะคล้ายจานข้าวมีส่วนนูนตรงกลาง มีขนาดความกว้างจากขอบด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งเป็นระยะ 127,900 ปีแสง ส่วนนูนหนา 13,800 ปีแสง ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 280 ล้านปี และจักรวาลสิทธัตถะเมดาอยู่ตรงปีกของกาแล็กซีทางช้างเผือก ห่างจากแกนกลาง 30,860 ปีแสง และจักรวาลเทคเคอร์นากาอยู่ตรงปีกอีกด้านหนึ่ง ห่างจากแกนกลาง 65,590 ปีแสง
             กาแล็กซีทางช้างเผือกมีลักษณะเอียงทำมุม 45 องศา กบแกนกลางของอนันต์จักรวาล และขณะนี้พบได้ว่าแกนกาแล็กซีเริ่งเอียงเพิ่มมากขึ้นสาเหตุเนื่องจากการระเบิดของดาวขนาดใหญ่ ดาวหางชนดาวอื่นๆแม้กระทั่งการทดลองระเบิดนิวเคลียร์บนโลกมนุษย์ ภูเขาไฟระเบิดและทำให้ระบบสุริยจักรวาลสิทธัตถะเมดาของมนุษย์เริ่มเสียสมดุลคือแกนของโลกและดาวเคราะห์ดวงอื่นมีแกนเอียงเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะโลกมนุษย์เอียงถึง 26.5องศา และขนาดนี้แกนกาแล็กซีทางช้างเผือก เอียงถึง 44 องศา มีโอกาสทำให้น้ำท่วมโลกมากขึ้น
             กาแล็กซีทางช้างเผือกมีอายุได้ 87,840 ล้านล้านล้านล้านปีแสง มีลักษณะวงลีกึ่งกังหัน มีความกว้าง127,900 ปีแสง ความนูน 13,800 ปีแสง ทำมุมเอียง 45? กับแกนกลางของอนันตจักรวาล
             ภายในแกแลกซีทางช้างเผือก มีทั้งกลุ่มดาวฤกษ์ กระจุกดาวเนบิวลา ฝุ่นธุลี ก๊าซ และที่ว่าง เหตุที่เรียกทางช้างเผือกนั้นเป็นเพราะว่าเมื่อเราอยู่บนโลกแล้วมองไปหาจุดศูนย์กลาง จะเห็นเป็นทางขาวคล้ายเมฆพาดยาวประดุจผิวช้างเผือก ชาวตะวันตกเรียกว่า ทางน้ำนมเพราะเป็นสีขาวคล้ายน้ำนม
             กาแลคซีทางช้างเผือก ประกอบด้วย
                                      1. ระบบสุริยจักวาล 2 จักวาล
                                      2. กลุ่มดาวฤกษ์ 864,900 กลุ่ม
                                      3. กระจุกดาว 1,747,500 กลุ่ม
                                      4. เนบิวลา 1,186,940 กลุ่ม
                                      5. กลุ่มฝุ่นธุลี ก๊าซ ตามรอยต่อของกาแลกซี่ต่างๆ

วิวัฒนาการ

                                 
I Zwicky 18 (ล่างซ้าย) ดาราจักรที่เพิ่งเกิดใหม่ ภาพจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
             ในเวลาหนึ่งพันล้านปีของการก่อตัวของดาราจักร โครงสร้างหลัก ได้แก่ กระจุกดาวทรงกลม หลุมดำมวลยวดยิ่งที่ศูนย์กลาง และดุมดาราจักรอันประกอบด้วยดารากร 3 ซึ่งมีโลหะอยู่น้อยก็เริ่มปรากฏขึ้น การกำเนิดของหลุมดำมวลยวดยิ่งดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญมากต่อวิธีการเติบโตของดาราจักร มันจำกัดปริมาณสสารโดยรวมที่เพิ่มเข้าไปในดาราจักร[65] ในยุคแรกนี้ ดาราจักรทั้งหลายต่างผ่านกระบวนการดาวกระจายซึ่งเป็นการก่อตัวของดาวฤกษ์ครั้งใหญ่[66]
         สองพันล้านปีต่อมา สสารต่าง ๆ ก็เริ่มกลายเป็นจานดาราจักร[67] ดาราจักรจะยังดึงดูดสสารต่าง ๆ จากเมฆที่เคลื่อนด้วยความเร็วสูงและดาราจักรแคระเข้าสู่ตัวมันอยู่ตลอดอายุขัย[68] สสารเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจนและฮีเลียม วงจรการเกิดและแตกดับของดาวฤกษ์ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณธาตุหนักขึ้นอย่างช้า ๆ ซึ่งต่อมาก่อให้เกิดดาวเคราะห์ในท้ายที่สุด
               อันตรกิริยาและการชนกันระหว่างดาราจักร สามารถส่งผลต่อวิวัฒนาการของดาราจักรได้อย่างมาก การรวมตัวกันของดาราจักรพบได้เป็นปกติในยุคแรกของเอกภพ และดาราจักรส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่มีสัณฐานที่แปลกประหลาดพิสดารด้วยระยะห่างระหว่างดาวซึ่งไกลมาก ทำให้ดาวส่วนมากไม่ได้รับผลกระทบจากการชนกันของดาราจักร อย่างไรก็ตาม ผลจากแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อแก๊สและฝุ่นระหว่างดาวอันเป็นส่วนประกอบแขนก้นหอยของดาราจักร ก็ทำให้เกิดขบวนดาวฤกษ์จำนวนมากเรียกว่า "tidal tails" ตัวอย่างของการก่อตัวในลักษณะนี้พบได้ใน NGC 4676 หรือดาราจักรหนวดแมลง
              ดาราจักรทางช้างเผือกกับดาราจักรแอนดรอเมดาที่อยู่ใกล้เคียง กำลังเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราเร็วประมาณ 130 กิโลเมตรต่อวินาที และอาจชนกันภายในเวลา 5-6 พันล้านปีข้างหน้า แม้ว่าดาราจักรทางช้างเผือกยังไม่เคยรวมตัวเข้ากับดาราจักรขนาดใหญ่เช่นแอนดรอเมดามาก่อน แต่ก็พบหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่าทางช้างเผือกเคยชนกับบรรดาดาราจักรแคระที่มีขนาดเล็กกว่า
                อันตรกิริยาระหว่างวัตถุอวกาศขนาดใหญ่ไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ยิ่งเวลาผ่านไป การรวมกันของระบบดาวที่มีขนาดพอ ๆ กันยิ่งพบเห็นได้ยากขึ้น ดาราจักรสว่างส่วนมากยังคงสภาพเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงนานหลายพันล้านปีมาแล้ว และอัตราการเกิดดาวฤกษ์ก็อาจผ่านจุดสูงสุดไปแล้วเมื่อราวหนึ่งหมื่นล้านปีก่อน

แนวโน้มในอนาคต

        ปัจจุบันยังคงมีการก่อเกิดดาวฤกษ์ใหม่ในดาราจักรขนาดเล็กที่แก๊สเย็นยังไม่สลายไปจนหมด ดาราจักรชนิดก้นหอยเช่นทางช้างเผือก สามารถสร้างดาวฤกษ์ใหม่นานตราบเท่าที่มันยังมีเมฆโมเลกุลหนาแน่นของไฮโดรเจนระหว่างดาวอยู่ภายในแขนก้นหอย ดาราจักรรีไม่มีแก๊สเหล่านั้นจึงไม่สามารถสร้างดาวฤกษ์ใหม่ ๆ ได้อีก แหล่งกำเนิดสสารที่จำเป็นต่อการกำเนิดดาวฤกษ์นั้นมีจำกัด เมื่อดาวฤกษ์ได้แปลงไฮโดรเจนเหล่านั้นไปเป็นธาตุหนักแล้ว การกำเนิดดาวใหม่ก็เป็นอันสิ้นสุด
            ยุคแห่งการก่อตัวของดาวฤกษ์ในปัจจุบันคาดว่าจะดำเนินต่อไปอีกเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งแสนล้านปี จากนั้น "ยุคดาว" จะค่อย ๆ เสื่อมลงในเวลาราว 10-100 ล้านล้านปี เมื่อดาวฤกษ์ที่เล็กที่สุดและมีชีวิตยาวนานที่สุดในห้วงอวกาศของเรา คือดาวแคระแดง เริ่มจางหายไป ในตอนปลายของยุคดาว ดาราจักรจะประกอบไปด้วยวัตถุที่มีมวลอัดแน่น เช่นดาวแคระน้ำตาล ดาวแคระขาวที่กำลังเย็นลง ("ดาวแคระดำ")ดาวนิวตรอน และหลุมดำ เมื่อนั้นผลจากความโน้มถ่วงที่เริ่มคลายลงจะทำให้ดาวฤกษ์ทั้งหลายตกลงสู่ใจกลางหลุมดำมวลยวดยิ่ง หรือมิฉะนั้นก็ถูกเหวี่ยงออกไปสู่ห้วงอวกาศระหว่างดาราจักรอันเป็นผลจากการชนกัน

เทพนที



เกิดวันอังคาร ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2541
อยู่ที่ 103 หมู่ 15  ต.หลุ่งประดู่  อ.ห้วยแถลง  จ.นครราชสีมา

สิ่งที่ชอบ ดูโทรทัศน์  ฟังเพลง
อาหารที่ชอบ  ข้าวผัดกระเพา
กิจกรรมยามว่าง  ฟังเพลง